scien project
 1. ประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์

     2. ขั้นตอนการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

               2.1 การได้มาซึ่งปัญหา
               2.2 การศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร
               2.3 การจัดทำเค้าโครง
               2.4 การลงมือทำโครงงาน
               2.5 การเขียนรายงาน
               2.6 การเสนอและการแสดงผลงาน

          กลับหน้าหลัก

 

รวบรวมเรียบเรียงโดย
ครูนันทนา สำเภา

 

ขั้นตอนการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ขั้นตอนที่ 4 การลงมือปฏิบัติโครงงาน

ในการปฏิบัติงานผู้ทำโครงงานควรจะดำเนินการดังนี้
1. ทบทวนดูประเภทของโครงงานอีกครั้งเพื่อจะได้มีความชัดเจนในการปฏิบัติงาน
2. ผู้ทำโครงงานต้องกำหนดขั้นตอนในการปฏิบัติงานอย่างละเอียด ชัดเจน
3. ผู้ทำโครงงานต้องปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบ ประหยัด
4. ผู้ทำโครงงานต้องมีการจดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ไว้อย่างละเอียด เป็นขั้นเป็นตอน
5. ผู้ทำโครงงานต้องระบุเวลาของการปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอนทุกขั้นตอน
6. ในกรณีที่มีข้อผิดพลาด หรือมีปัญหาในการปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอน ต้องรีบปรึกษากับกลุ่ม หรือครูที่ปรึกษาทันที เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที

การบันทึกผลการปฏิบัติงาน  การเขียนบันทึกควรชัดเจนจะทำให้ผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น ซึ่งอาจจะต้องใช้วิธีการต่าง ๆ ช่วย เช่น ทำตารางบันทึกผลการทดลอง การสำรวจ หรือการแสดงความคิดเห็น เป็นต้น  

 

ขั้นตอนที่ 5 การเขียนรายงานโครงงาน

แบ่งเป็น 6 ส่วน
                 ส่วนปกหน้า
                 บทที่ 1 บทนำ
                 บทที่ 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
                 บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
                 บทที่ 4 ผลของการดำเนินการ
                 บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผล
                 ส่วนประกอบตอนท้าย

 

ส่วนปกหน้า  ประกอบด้วย

  1. ปกหน้า 
  2. บทคัดย่อ อธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และผลที่ได้ตลอดจนข้อสรุปต่างๆอย่างย่อประมาณ 300-350 คำ            

ตัวอย่างที่  7
บทคัดย่อ
 (เรื่อง การศึกษาผลของน้ำมะพร้าวต่อการชะลอการเหี่ยวเฉาของดอกบานบุรี)

หัวข้อโครงาน        การศึกษาผลของน้ำมะพร้าวต่อการชะลอการเหี่ยวเฉาของพืช
ผู้จัดทำ                    1.......................................................
                                2.......................................................
                                3.......................................................
                                 
ระดับชั้น                  ........................................................
ชื่อครูที่ปรึกษา       ........................................................
โรงเรียน                   ........................................................
ปี พ.ศ.                        2551

 

                                                                                   บทคัดย่อ


การศึกษาผลของน้ำมะพร้าวต่อการชะลอการเหี่ยวเฉาของพืช เพื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพของน้ำมะพร้าวอ่อน น้ำมะพร้าวขนาดกลาง และน้ำมะพร้าวแก่ และศึกษาประสิทธิภาพของน้ำมะพร้าวอ่อน น้ำมะพร้าวขนาดกลาง และน้ำมะพร้าวแก่ ต่อการยืดอายุของกิ่งดอกบานบุรี พบว่า น้ำมะพร้าวอ่อน ค่าpH ประมาณ 3.48 สีค่อนข้างไส กลิ่นหอม ลักษณะทางกายภาพของน้ำมะพร้าวขนาดกลาง ค่า pH ประมาณ 4.13 สีค่อนข้างขุ่น กลิ่นหอม ลักษณะทางกายภาพของน้ำมะพร้าวแก่ ค่า pH ประมาณ 4.40 สีขุ่นและมีตะกอน มีกลิ่นหืน จากการศึกษาประสิทธิภาพของและน้ำมะพร้าวอ่อน  น้ำมะพร้าวขนาดกลาง และน้ำมะพร้าวแก่ มาใช้ในการชะลอการเหี่ยวของดอกบานบุรี โดยใช้กิ่งดอกบานบุรีแช่ในสารละลายดังกล่าวเป็นเวลา 3 นาที , 5 นาที ,10 นาที , 15 นาที , 20 นาที , 25 นาที และเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการชะลอการแก่ชราของกิ่งดอกบานบุรีพบว่าน้ำมะพร้าวที่มีประสิทธิภาพช่วยชะลอการแก่ชราของกิ่งดอกบานบุรีได้ดีที่สุดคือน้ำมะพร้าวอ่อนที่ แช่กิ่งดอกบานบุรีในน้ำมะพร้าวอ่อนเวลา 3 ,5 และ 10 นาที อันดับสองคือ น้ำมะพร้าวขนาดกลางที่แช่กิ่งดอกบานบุรีในน้ำมะพร้าวขนาดกลางเวลา 3 และ 25 นาที และน้ำมะพร้าวที่มีประสิทธิภาพช่วยชะลอการชราของกิ่งดอกบานบุรีได้น้อยที่สุดคือน้ำมะพร้าวแก่

 

 3. กิตติกรรมประกาศ 

การจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่ได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่ายดังนั้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศของความร่วมมือ  จึงควรได้กล่าวขอบคุณบุคลากรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยให้โครงงานนี้สำเร็จด้วย                                                                  

ตัวอย่างที่  8
กิตติกรรมประกาศ
 (เรื่อง การศึกษาผลของน้ำมะพร้าวต่อการชะลอการเหี่ยวเฉาของดอกบานบุรี)

กิตติกรรมประกาศ

                โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องศึกษาผลของน้ำมะพร้าวต่อการชะลอการเหี่ยวเฉาของพืช คณะผู้จัดทำขอขอบคุณผู้อำนวยการโรงเรียนดอนตาลวิทยาที่ให้การสนับสนุนสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ ครูนันทนา สำเภา อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 ที่ให้ความสนับสนุนมะพร้าวขนาดต่างๆจากท้องถิ่น และ ผู้ปกครองของสมาชิกในกลุ่มที่ให้ความช่วยเหลือสนับสนุน จนกระทั่งงานสำเร็จคณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณทุกท่านที่กล่าวไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย

                                                                                                                                                                                                                        คณะผู้จัดทำ

 

 

3. สารบัญ เป็นการบอกให้ผู้อ่านทราบว่ารายงานประกอบด้วยหัวข้ออะไร และอยู่ที่หน้าใด สารบัญตาราง (ถ้ามี) สารบัญภาพ (ถ้ามี) สารบัญกราฟ (ถ้ามี)

 

บทที่ 1 บทนำ
ประกอบด้วย

  1. หลักการ เหตุผล แนวคิด ที่มาและความสำคัญของปัญหา
  2. จุดมุ่งหมายของการศึกษา(วัตถุประสงค์)
  3. สมมติฐานของการศึกษา
  4. ขอบเขตของการศึกษา
  5. นิยามศัพท์เฉพาะ (การให้ความหมายของคำ หรือให้คำจำกัดความ คำที่ต้องการบอกความหมายเฉพาะ หรือคำที่มีความหมายแปลกออกไป)

ตัวอย่างที่  9
นิยามศัพท์เฉพาะ
(เรื่อง การศึกษาผลของน้ำมะพร้าวต่อการชะลอการเหี่ยวเฉาของดอกบานบุรี)

นิยามเชิงปฎิบัติการ

ประสิทธิภาพ                       หมายถึง    ความสามารถในการชะลอการเหี่ยวเฉาของกิ่งดอกบานบุรีโดยทำให้ดอกสด และทำให้ใบยังมีสีเขียว
น้ำมะพร้าวอ่อน                    หมายถึง    น้ำมะพร้าวที่ได้จากลูกมะพร้าวที่เนื้อภายในยังเป็นวุ้นและ เปลือกหุ้มเมล็ดยังอ่อนและมีสีขาวนวล
น้ำมะพร้าวขนาดกลาง        หมายถึง     น้ำมะพร้าวที่ได้จากลูกมะพร้าวที่เนื้อภายในมีสีขาวแต่ยังอ่อน เปลือกหุ้มเมล็ดมีน้ำตาลอ่อนไม่แข็งมาก
น้ำมะพร้าวแก่                      หมายถึง    น้ำมะพร้าวที่ได้จากลูกมะพร้าวที่เนื้อภายในสีขาวเนื้อภายในเริ่มแข็งและมีเส้นมีความมันมาก เปลือกหุ้มเมล็ดสีน้ำตาล เข้มและแข็ง
เฉา                                      หมายถึง     กลีบดอกเริ่มอ่อนตัวไม่แข็งแรงก้านดอกโค้งงอ
เหี่ยว                                    หมายถึง    กลีบดอกเริ่มช้ำ หรือมีสีน้ำตาลอ่อน
เครื่องหมาย (- ) ที่ใช้ในตาราง  4-21 และตารางที่ 23  หมายถึง  การไม่มีสิ่งนั้นอยู่ เช่น อยู่ในสดมภ์ของดอกแสดงว่าหลอดทดลองนั้นดอกได้ล่วงไปแล้วหรือถ้าอยู่ในสดมภ์ของใบแสดงว่าใบในหลอดทดลองนั้นได้ล่วงหล่นจากกิ่งที่ใช้ทดลองหมดแล้ว
การแก่ชราของพืช             หมายถึง     การเหี่ยวเฉาของอวัยวะพืช การหลุดล่วงของใบและดอก หรือ มีลักษณะทางกายภาพที่เปลี่ยนแปลงไปเช่น ใบเหลือง ดอกมี รอยซ้ำหรือรอยไหม้

 

บทที่ 2 เอกสารหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้
    ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทำโครงงานหรืองานวิจัยทีมีส่วนคล้ายกับเรื่องที่ทำ  หลักการ ทฤษฎี (ถ้ามี)
อ้างถึงผลการศึกษาโครงงาน หรืองานวิจัยที่มีส่วนคล้ายกับเรื่องที่ทำ (ถ้ามี)

 

บทที่ 3 วัสดุ อุปกรณ์และวิธีดำเนินการ
วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา และ    วิธีดำเนินการศึกษา ให้เขียนเป็นขั้นตอนให้ชัดเจน

 

บทที่ 4 ผลของการดำเนินการ
ผลการศึกษาเป็นอย่างไร แสดงข้อมูลเป็น ภาพ กราฟ และ ตารางเขียนให้สอดคล้องกับขั้นตอนบทที่ 3

 

 บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผล ประกอบด้วย
การนำผลการทดลองมาอภิปรายและเพื่อสรุปผลการศึกษา
การประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงานเรื่องนี้
ข้อเสนอแนะ

ส่วนประกอบตอนท้าย ได้แก่ บรรณานุกรม / ภาคผนวก /  ประวัติผู้วิจัย